มลพิษในอากาศ...ภัยเงียบที่มองไม่เห็น

ใส่ข้อความที่ไม่จัดรูปแบบที่นี่ ข่าวช็อกวงการบันเทิงเมื่อเร็วๆนี้ “อ๊อฟ” อภิชาต พัวพิมล เจ้าของฉายา “ คีอานู รีฟส์ เมืองไทย” เสียชีวิตกะทันหันด้วยโรคหอบหืด หลังจากทรมานจากระบบภูมิแพ้มาแต่เด็กซึ่งก่อนหน้านี้โรคหอบหืดได้คร่าชีวิต แดงซ่าส์ ผู้กำกับมือทองของไทยขณะที่ตลกชื่อดัง ดี๋ ดอกมะดัน ก็ยังนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ทำให้คนไทยต้องหันมาประเมินถึงคุณภาพอากาศที่เราหายใจเข้าไปกับความเสี่ยงต่อโรคภัยกันใหม่ ในแต่ละปีปริมาณมลพิษในอากาศของประเทศไทยมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นมาก เชื้อโรคและมลพิษในอากาศเป็นภัยเงียบที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะความผิดปกติทางสมอง สุขภาพของคนทำงานและคนไทยทั่วไปตลอดจนโรคภัยร้ายแรงต่างๆที่กระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างไม่รู้ตัว อาทิเช่น โรคภูมิแพ้, โรคเชื้อราขึ้นสมอง , โรคมะเร็ง, โรคไวรัสตับอักเสบ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง หอบหืด ในงานเปิดตัวเครื่องฟอกอากาศ สกาน่า (SCANA) จัดโดยบริษัทโคซาน อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) ซึ่งได้คิดค้นนวัตกรรมเครื่องฟอกอากาศที่ก้าวล้ำด้วยไททาเนียมและซิลเวอร์นาโนเทคโนโลยี ช่วย ดูดจับและยับยั้งเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อราและมลพิษในอากาศที่มองไม่เห็น และมีขนาดเล็กถึง 0.3 ไมครอน มีการจัดเสวนาหัวข้อ “มลพิษในอากาศกับคุณภาพชีวิตของคนไทย” โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้มีชื่อเสียงมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ คุณพรทิพย์ วชิรางกูร ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท โคซาน อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) ให้ความรู้ว่าจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยหอบหืดประมาณ 300 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้ป่วยหอบหืดประมาณ 3 ล้านคน เสียชีวิตปีละประมาณ 1,000 คน โดย 70 % ของผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลช้าเกินไปคงเป็นเพราะผู้ป่วยประเทศไทยประเมินความรุนแรงของโรคต่ำไป ดังนั้น วิธีการป้องกัน คือ ผู้ป่วยต้องรู้จักประเมินความรุนแรงของโรคตัวเอง หรือแม้จะไม่มีอาการก็ควรหมั่นตรวจเช็คสมรรถภาพปอดอยู่เสมอ เพราะผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีอาการ แต่พอไปเป่าลมตรวจสภาพปอดปรากฏว่าสมรรถภาพไม่ดี ทั้งนี้ ผู้ที่เสียชีวิตจากหอบหืด เป็นเพราะมีเสมหะออกมาอุดหลอดลมทำให้ออกซิเจนเข้าสู่ปอดไม่ได้ ความรุนแรงของโรคมีผลมาจากสิ่งแวดล้อม เช่น ไร่ฝุ่น สัตว์เลี้ยง ละออง เกสรดอกไม้ ละอองหญ้า แมลงสาบ ควันบุหรี่ หรือ สารระคายเคือง เช่น ถูกอากาศเย็น ไอเสียรถยนต์”


เอเซียกับมลพิษ

	เมื่อเร็วๆนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เผยแพร่รายงานล่าสุดว่าด้วยคุณภาพอากาศพร้อมทั้งออกแถลงการณ์เตือนเกี่ยวกับปัญหาอากาศเป็นพิษตามเมืองใหญ่ทั่วโลกที่มีผลต่อสุขภาพ WHO ระบุว่าระดับของฝุ่นละออง ผงและเถ้า ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่อันตรายที่สุดของมลภาวะในอากาศไม่ควรเกิน 20 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในแต่ละปีปริมาณ มลพิษในอากาศ ของประเทศในภูมิภาคเอเซียรวมทั้งประเทศไทยมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นมาก ปัจจุบันได้ก่อให้เกิดปัญหาวิกฤตสภาพอากาศที่เลวร้ายเช่นในฮ่องกง ซึ่งมหาวิทยาลัยฮ่องกงได้เผยผลการวิจัยพบว่า กลุ่มควัน ฝุ่นละอองและมลพิษในอากาศ เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของโรคร้ายและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของชาวฮ่องกงปีละประมาณ 2,000 คน นอกจากนี้มลพิษในอากาศยังส่งผลกระทบต่อสังคมและแวดวงธุรกิจอีกด้วย ดังที่มีข่าวว่าบริษัทต่างชาติหลายแห่งคิดย้ายสำนักงานและเริ่มถอนการลงทุนออกจากฮ่องกง เช่นเดียวกับปัญหามลพิษจากควันไฟจากการเผาไร่ในอินโดนีเซีย ก่อให้เกิดควันหนาทึบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งร้ายแรงที่สุดเมื่อปี 2540-2541 และเมื่อเร็วๆนี้ได้แผ่ปกคลุมท้องฟ้ามาเลเซียและสิงคโปร์สร้างความเสียหายมากมายทั้งด้านการท่องเที่ยวและธุรกิจ รวมทั้งสุขภาพของประชาชนคิดเป็นมูลค่าเกือบ 9,000 ล้านดอลลาร์ 


นาโนเทคโนโลยีในเครื่องฟอกอากาศ

นางสาวพรทิพย์ วชิรางกูร บริษัท โคซาน อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ ในต่างประเทศจะเห็นความสำคัญของคุณภาพอากาศที่ดีและมีการใช้เครื่องฟอกอากาศอย่างแพร่หลาย สำหรับประเทศไทย ที่ผ่านมาคนไทยยังไม่ค่อยเห็นความสำคัญของคุณภาพอากาศนัก เพราะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา ซึ่งนับวันมลพิษทางอากาศจะส่งผลร้ายต่อสุขอนามัยของพัฒนาการทางสมองเด็กวัยเรียน,สุขภาพของคนในที่ทำงาน และประชาชนทุกวัยตลอดจนก่อโรคภูมิแพ้และโรคภัยร้ายแรงต่างๆ ที่กระทบต่อคุณภาพชีวิตในครอบครัวและสังคมมากขึ้นทุกขณะ ปัจจุบันบริษัทโคซาน อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) ได้คิดค้นวิจัยนวัตกรรมใหม่เครื่องฟอกอากาศ สกาน่า ซึ่งใช้ ไททาเนียมและซิลเวอร์นาโนเทคโนโลยีเป็นแบรนด์แรกของโลก โดยได้รับการรับรองจากสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติประเทศเกาหลี ด้วยระบบแผ่นกรอง 5 ขั้นตอน สามารถยับยั้งและย่อยสลายเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา สารก่อภูมิแพ้ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก 0.3 ไมครอนได้ พร้อมทั้งกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ผลิตภัณฑ์สกาน่า ได้วางตลาดเมื่อเดือนตุลาคม เทคโนโลยีระบบฟอกอากาศของสกาน่าเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในเกาหลี บริษัทฯ เป็นผู้นำพัฒนาเครื่องฟอกอากาศในบ้าน, รถยนต์ รถไฟฟ้าใต้ดิน และรถไฟมาแล้ว สิ่งที่คนไทยควรหันมาใส่ใจกับการเสริมสร้างคุณภาพอากาศที่ดีในบ้านและที่ทำงาน เพื่อช่วยให้มีสุขภาพดี ผิวพรรณสดใส และมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคภัย ความสูญเสียและพิการก่อนวัยอันสมควร”


โรคที่มากับมลพิษในอากาศ'

ดร. วนิสา สุรพิพิธ ผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ข้อมูลระบบเครือข่ายคุณภาพอากาศและเสียง, กรมควบคุมมลพิษ กล่าวถึงที่มาของสภาวะมลพิษในอากาศว่า “สารมลพิษจากภายนอกอาคารส่วนมากมาจากกิจกรรมการเผาไหม้เชื้อเพลิงของผู้คนและอื่นๆ ทั้งจากยวดยานพาหนะ จากโรงงานอุตสาหกรรม จากการเผาขยะหรือเศษวัสดุการเกษตร นอกจากนี้ภายในอาคารเองก็มีโอกาสที่จะมีการระบายสารมลพิษ ยกตัวอย่างเช่น ท่อแอร์ สารตะกั่วและสารอินทรีย์ระเหยที่เป็นพิษจากสีทาบ้านบางชนิด ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์จากการเผาไหม้ก๊าซหุงต้ม ฝุ่นหรือเขม่าควันจากการปิ้งย่าง แต่ส่วนที่มักมองข้ามกันคือฝุ่นละอองที่ติดตามตัวเราเข้ามาในอาคาร รวมทั้งการเติบโตของจุลชีพที่อาศัยอยู่ในอาคารเอง เช่นตามจุดอับชื้นของบ้าน และในเครื่องปรับอากาศ โรคที่มาจากมลพิษในอากาศ นั้นมีผลให้พัฒนาการของเด็กล่าช้า และทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ,โรคติดเชื้อทางอากาศรวมทั้งโรคที่มาจากเครื่องปรับอากาศในคนทุกวัยหากพิจารณา สารมลพิษหลักที่มีกฎหมายควบคุมระดับความเข้มข้นในบรรยากาศทั่วไป อันได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์, ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซค์ และก๊าซโอโซน จะพบว่าหากสูดหายใจอากาศที่ความเข้มข้นของก๊าซดังกล่าวเกินเกณฑ์มาตรฐาน (ค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงต้องไม่เกิน 100 ส่วนในพันล้านส่วน, 170 ส่วนในพันล้านส่วน และ 300 ส่วนในพันล้านส่วน ตามลำดับ) ก็จะทำให้มีผลทำลายเยื่อบุระบบทางเดินหายใจ ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง และทำให้เกิดโรคเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจที่เรียกว่า หอบหืด (asthma) การสูดหายใจก๊าซดังกล่าวเมื่อประกอบกับการได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็ก (เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยต่ำกว่า 2.5 ไมครอน) เป็นประจำจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคดังกล่าว เนื่องจากปอดทำงานได้ไม่เต็มที่ และโรคที่จะมองข้ามไปเสียมิได้นั้นคือ โรคติดเชื้อทางอากาศ ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ ไวรัสธรรมดาที่ทำให้เราเป็นหวัด ที่ร้ายแรงขึ้นมาก็ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ ไปจนถึงเชื้อโรค SARS ที่ทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนถึงเชื้อไข้หวัดนกที่กลายพันธุ์มามีผลต่อคน เชื้อโรคทั้งหมดในกลุ่มเหล่านี้เดินทางได้ในอากาศ ทั้งโดยการพัดพาของลมและโดยสารกับฝุ่นละอองที่ฟุ้งกระจายอยู่แล้วในอากาศ เมื่อได้ทราบถึงภัยร้ายต่าง ๆ แล้วนั้นคนไทยควรร่วมกันลดมลพิษในอากาศและทำให้อากาศมีคุณภาพดีขึ้น


โรคที่มาจากเครื่องปรับอากาศ

อาจจะเคยทราบแล้วว่าในเครื่องปรับอากาศ โดยเฉพาะระบบรวมที่มีการจ่ายอากาศทางท่อทั้งอาคาร มักเป็นที่ก่อเกิดของเชื้อโรคที่อาจฟักตัวบนฝุ่นละอองที่เกาะติดตามท่อ อากาศที่หมุนเวียนมาจากนอกอาคาร ย่อมได้รับเชื้อโรคจากภายนอกอาคาร รวมทั้งเชื้อโรคจากผู้ที่อยู่ในอาคารซึ่งมีภูมิคุ้มกันโรคต่างกัน อากาศในระบบปรับอากาศมีอุณหภูมิเหมาะสบายก็จริง แต่มีโอกาสสูงที่เชื้อโรคและฝุ่นละอองจะเดินทางตามท่อแอร์และหมุนวนอยู่ภายในอาคารโดยไม่มีการระบายถ่ายเท”

 คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่ามลพิษทางอากาศจากสิ่งแวดล้อมภายนอกอันตรายกว่ามากกว่าภายใน แต่ข้อเท็จจริงจากการสำรวจพบว่ามนุษย์ได้รับอันตรายจากมลพิษทางอากาศภายในอาคารสูงกว่าประมาณ 2 - 5 เท่า และบางครั้งอาจสูงถึง 100 เท่า เนื่องจากคนส่วนใหญ่นั้นใช้เวลากว่า 90 % อาศัยอยู่ภายในอาคารและที่ทำงานขึ้นอยู่กับปัจจัยและสภาวะคุณภาพอากาศของที่นั้นๆ


สถานการณ์มลพิษในอากาศของไทย

               ดร. วนิสา สุรพิพิธ กล่าวถึงสภาวะมลพิษในอากาศของไทยปัจจุบันว่า “จากข้อมูลสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปและริมถนนของกรมควบคุมมลพิษซึ่งมีการติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่องทุกวันอยู่ทั่วประเทศ 52 สถานีพบว่า เขตที่มีฝุ่น PM10 เกินระดับมาตรฐาน (ค่าเฉลี่ยรายวันเกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) บ่อยครั้งคือ เขตดินแดง รองลงมาคือ ลาดพร้าว ห้วยขวาง ยานนาวา สำหรับเมืองใหญ่ที่มีปัญหาโดยต่อเนื่องคือปริมณฑลของ กทม. ได้แก่ สมุทรปราการ ที่มีปัญหาเกือบทุกฤดูกาล นอกจากนี้พื้นที่อุตสาหกรรม เช่น สระบุรี ก็ยังคงอยู่ระหว่างดำเนินมาตรการแก้ปัญหาร่วมกันอยู่ขณะ สำหรับเมืองใหญ่ เช่น เชียงใหม่ และลำปาง จะประสบปัญหาฝุ่นละออง PM10 ในช่วงต้นปีตั้งแต่ มกราคมถึงมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงหน้าแล้งและมีการเผาเศษวัสดุการเกษตรในที่โล่ง รวมทั้งไฟป่าจากแนวชายแดนพม่าและบริเวณโดยรอบ เมืองใหญ่ทางใต้ ได้แก่ ภูเก็ตและสงขลา ที่ผ่านมาได้รับผลกระทบฝุ่นเกินมาตรฐานเนื่องจากหมอกควันข้ามแดนจากอินโดนีเซียในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคมติดต่อกันในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา” 


แนะ 7 วิธีป้องกันภัยเงียบ

              ดร. วนิสา สุรพิพิธ มีข้อแนะนำในการป้องกันตนเองว่า “ปกติเมื่อมลพิษเกินค่ามาตรฐานจะมีการแจ้งเตือนประชาชน ซึ่งหากต้องออกนอกบ้านไปในบริเวณที่มีมลพิษสูงควรใช้ผ้ากรองขนาดละเอียด หรือในกรณีร้ายแรงก็ใช้ผ้าธรรมดาชุบน้ำปิดปากและจมูก แต่หากตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณที่มีสารมลพิษโดยเฉพาะฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน แนะนำให้ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด  ดิฉันขอเชิญชวนให้คนไทยร่วมกันลดมลพิษในอากาศและทำให้อากาศมีคุณภาพดีขึ้น ประเด็นสำคัญที่สุดคือการลดการก่อมลพิษโดยตรง ด้วย 4  วิธีการ ได้แก่ 1. ทำบ้านและที่ทำงานให้สะอาดอยู่เสมอ 2. ทำความสะอาดแผ่นกรองฝุ่นในเครื่องปรับอากาศโดยฉีดล้างด้วยน้ำเดือนละ 1 – 2 ครั้ง 3.เปิดประตูหน้าต่างเพื่อถ่ายเทอากาศไล่ความชื้นในที่ทำงานสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะห้องที่มีเครื่องถ่ายเอกสารเนื่องจากฝุ่นมาก  4.งดการเผาขยะและเศษวัสดุในที่โล่งแจ้ง 5. การดูแลรักษาสภาพเครื่องของรถยนต์ให้มีสภาพดี ไม่ปล่อยควันพิษมากรวมทั้งขับรถให้น้อยลง หรือเท่าที่จำเป็น และหันมาใช้บริการสาธารณะ 6. ลดการใช้สารเคมีในบ้านและออฟฟิส เช่น เมทานอล ซึ่งเป็นส่วนผสมในน้ำมันและสีสเปรย์, อะคริลาไมค์ที่ใช้ในหมึกพิมพ์และกาว ทำให้มึน ง่วงงุน, อนิลีน ในยาฆ่าแมลง สีย้อมผ้าและยางลบหากสูดดมนานปีอาจก่อมะเร็งได้ 7. ละเลิกการสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่ก่อมลพิษต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีคนสูบบุหรี่ทั่วโลก 1,100 ล้านคน และควันบุหรี่มีสารพิษกว่า 4,000 ชนิด

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เบรนเอเซีย จำกัด โทร.02-655-3131 โทรสาร 02-655-3124