วิกิข่าว:มุมมองที่เป็นกลาง

นโยบายของวิกิข่าวระบุว่า บทความทุกบทความจะต้องถูกเขียนด้วย มุมมองที่เป็นกลาง (Neutral point of view, NPOV) กล่าวโดย จิมโบ เวลส์ ผู้ก่อตั้งวิกิมีเดีย อธิบายแนวคิดมุมมองที่เป็นกลางว่า "บทความต้องเป็นกลางไม่มีการยอม ไม่มีการต่อรอง"

บทนำ

นโยบายมุมมองที่เป็นกลาง ระบุว่าบทความจะต้องถูกเขียนมุมมองที่เป็นกลาง ไม่ว่าทั้งการชื่นชมที่นำเสนอแต่เรื่องดี หรือการมีอคติที่นำเสนอแต่เรื่องไม่ดี โดยบทความจะต้องเกิดจากการสร้างจากมุมมองอย่างเสมอภาค นโยบายนี้มักจะถูกเข้าใจผิดว่าหมายถึงการเขียนบทความจากมุมมองเดียว เพียงแต่ระบุว่าทุกๆ มุมของการโต้เถียงจะต้องได้รับการนำเสนออย่างเสมอภาค นโยบายมุมมองที่เป็นกลาง ไม่ได้หมายถึงเขียนได้เฉพาะข้อเท็จจริงห้ามเขียนความคิดเห็น แต่หมายถึงการเขียนความคิดเห็นในลักษณะที่เป็นกลาง โดยไม่ตัดสินคนอื่น ว่าคนอื่น "ผิด"

ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นความเป็นกลาง

  • บทความไม่ควรกล่าวว่า เหล้า ไวน์ เบียร์ เป็นสิ่งชั่วร้าย คนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นคนชั่วร้าย แม้ว่าผู้เขียนจะเชื่อเช่นนั้น บทความควรระบุข้อเท็จจริง สำหรับการแสดงความเห็นของผู้เขียน ต้องระบุว่า บางคน เห็นเป็นเช่นนั้นพร้อมทั้งให้เหตุผล โดยสามารถเขียนในหัวข้อย่อยว่า "ข้อเสียของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์" หรือ "อันตรายจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์"
  • บทความไม่ควรกล่าวว่า ระบอบทุนนิยม เป็นระบบทางสังคมที่ดีที่สุด ทุกระบบประกอบด้วยทั้งข้อดีและข้อเสียของแต่ละระบบ การนำเสนอต้องนำเสนอทั้ง 2 ทาง

ทำไมต้องเขียนด้วยมุมมองที่เป็นกลาง

หน้าที่ของวิกิข่าวคือ เป็นที่รวบรวมข่าวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งการเขียนในมุมมองที่เป็นกลาง จะทำให้ข่าวเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกคน เหมือนจากที่ได้กล่าวว่า นักอุดมการณ์มักจะแสดงข้อโต้เถียงทุกครั้งเมื่อเจอเหตุการณ์ใดที่เห็นด้วยไม่ตรงกับตัวเอง เขียนบทความสำหรับทุกคนซึ่งเหมาะสมกว่าเขียนบทความสำหรับนักอุดมกาณ์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่ว่าบทความใดก็ตามมักจะได้ข้อโต้เถียงถ้าบทความนั้นแสดงความเห็นไม่ตรงกับกับความเห็นของผู้อ่าน ซึ่งเป็นง่ายที่ทำให้เกิดความไม่เห็นด้วย มุมมองที่เป็นกลาง พยายามที่จะนำเสนอแนวคิดและข้อเท็จจริงในรูปแบบที่ทั้งผู้สนับสนุน และผู้ไม่เห็นด้วยสามารถยอมรับได้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย 100%

วิกิข่าวเป็นแหล่งข่าวสำหรับทุกคน นั่นหมายความว่าวิกิข่าวจะต้องเสนอข่าวสารสำหรับทุกคน แต่เนื่องจากความเห็นของทุกคนไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แนวคิดที่แตกต่างกัน เชื่อในสิ่งที่ถูกต้องแตกต่างกัน นอกจากนี้เมื่อมีมุมมองที่ขัดแย้งกันแล้วย่อมจะมีความเชื่อว่ามุมมองอื่นนั้นผิด และไม่จัดมุมมองอื่นเหล่านั้นว่าเป็นข่าว วิกิข่าวเกิดจากความร่วมมือกันของผู้ใช้ทุกคน ความเห็นของทุกคนไม่มีคำว่าผิด แต่แค่มุมมองที่แตกต่างจากเรา ความเห็นเดียวที่ผิดคือ "คิดว่าคนอื่นผิด"

องค์ประกอบที่สำคัญ "การค้นคว้า"

การโต้เถียงหลายๆ ครั้ง สามารถแก้ไขได้โดยการค้นคว้าหาข้อมูลที่ดี ข้อเท็จจริงสามารถหาคำตอบได้โดยการค้นคว้า ไม่ใช่การสร้างความเห็นขึ้นมาใหม่ วิธีการที่จะหลีกเลี่ยงข้อความที่เอียงไปทางบางมุมมองคือการหาแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ โดยผู้เขียนบทความควรจะเขียน"แหล่งอ้างอิง" ไว้ที่ท้ายบทความเพื่อบอกถึงผู้เขียนคนอื่นและผู้อ่านไว้

ความเสมอภาค และน้ำเสียงที่เห็นอกเห็นใจ

ถ้าเราจะอธิบายการโต้แย้งอย่างเสมอภาค เราจะต้องนำเสนอมุมมองที่ขัดแย้งกันด้วยน้ำเสียงเชิงบวก และเห็นอกเห็นใจ อย่างคงเส้นคงวา   บทความหลาย ๆ บทความกลายเป็นเพียงแค่การแสดงความเห็นของคนกลุ่มหนึ่ง แม้ว่า จะนำเสนอมุมมองทั้งสองด้าน   แม้ว่าหัวข้อจะได้รับการนำเสนอในเชิงข้อเท็จจริงแล้วก็ตาม บทความนั้นก็ยังสามารถแสดงมุมมองของผู้เขียนออกมาได้ ผ่านทางการคัดสรรข้อเท็จจริงที่นำมาแสดง หรือผ่านทางลำดับการนำเสนอ ยกตัวอย่างเช่น การปฏิเสธมุมมองตรงกันข้ามไปเรื่อย ๆ ในบทความสามารถทำให้มุมมองเหล่านั้นดูแย่ไปกว่าการแบ่งแยกเนื้อหาออกเป็นส่วน ๆ ตามมุมมอง

เราควรจะเขียนบทความด้วยน้ำเสียงที่แสดงว่า ทุก ๆ จุดยืน ที่ได้นำเสนอไป สามารถเป็นไปได้ โดยคำนึงถึงข้อจำกัดเกี่ยวกับมุมมองของคนกลุ่มเล็กมากด้วย   มาช่วยกันนำเสนอมุมมองสำคัญ ที่อาจขัดแย้งกันอย่างเห็นอกเห็นใจ   เราสามารถเขียนด้วยความรู้สึกว่าอะไรบางอย่างนั้นเป็นความคิดที่ดี เพียงแต่ว่าในมุมมองของคนที่ไม่เห็นด้วย กลุ่มคนที่เชื่อเช่นนั้นมองข้ามประเด็นบางอย่างไป

ปรัชญาของมุมมองที่เป็นกลาง

บางครั้งเราจะให้คำอธิบายอีกรูปแบบหนึ่งของนโยบายการปราศจากอคติ: อธิบายข้อเท็จจริง รวมถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความคิดเห็น แต่อย่ายืนยันในความคิดเห็นนั้น ๆ   ข้อเท็จจริง กับค่านิยมหรือความคิดเห็น นั้นไม่เหมือนกัน สำหรับข้อเท็จจริงนั้น เราจะหมายถึง "ชิ้นข้อมูลที่ไม่มีการถกเถียงอย่างรุนแรง"   ในความหมายนี้ การที่แบบสอบถามชี้ให้เห็นผลบางอย่างนั้นคือข้อเท็จจริง การที่ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์เป็นข้อเท็จจริง การที่โสกราติสเป็นนักปรัชญาเป็นข้อเท็จจริง ไม่มีใครจะโต้แย้งข้อมูลดังกล่าว ดังนั้นเราจึงสามารถจะ ยืนยัน ข้อมูลลักษณะนี้ได้มากเท่าที่ต้องการ

ในทางกลับกัน ค่านิยมหรือความคิดเห็นนั้น เราหมายถึง "ชิ้นข้อมูลที่มีการถกเถียงอยู่" แน่นอนว่ามีหลาย ๆ กรณีที่อยู่ตรงกลางเกณฑ์นี้ ซึ่งเราไม่แน่ใจว่าเราควรจะนำข้อโต้แย้งนั้นมาพิจารณาอย่างจริงจังหรือไม่ แต่มีข้อยืนยันหลาย ๆ ชิ้นที่เป็นการแสดงความคิดเห็นอย่างชัดเจน ที่ว่าการขโมยนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกนั้นเป็นค่านิยมหรือความคิดเห็น ที่ว่าเดอะ บีเทิลส์เป็นวงดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั้นเป็นค่านิยมหรือความเห็น ที่ว่าสหรัฐนั้นทำไม่ถูกที่ทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากินั้นเป็นค่านิยมหรือความคิดเห็น ที่ว่าพระเจ้ามีจริง ... นี่อาจเป็นกรณีที่ยุ่งยากสักหน่อย การที่พระเจ้ามีอยู่หรือไม่ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับข้อเท็จจริง หรือปัญหาเกี่ยวกับค่านิยม แต่เมื่อข้อเท็จจริงนั้นเป็นสิ่งที่โดยแก่นแท้แล้วเข้าถึงไม่ได้ เท่าที่คนเราทราบ การที่พระเจ้ามีจริงหรือไม่ จึงถูกนำไปวางอยู่ในกลุ่มของค่านิยมหรือความคิดเห็น   การยืนยันว่า "การมีอยู่ของพระเจ้าเป็นความคิดเห็น" แม้ว่าจะเป็นประเด็นที่อาจเกิดความอ่อนไหวได้ แสดงให้เห็นว่าเราไม่ได้ถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องของข้อเท็จจริง (หลังสมัยใหม่นิยม หรือ อไญยนิยมแบบรุนแรง) หรือเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ (แนวคิดแบบโลกวิสัย)

นอกจากนี้

ทางออกของปัญหาดังกล่าวที่เราเลือกเพื่อให้การทำงานที่วิกิพีเดียเป็นไปได้ก็คือ การยอมรับว่า "ความรู้ของมนุษยชาติ" นั้น รวมเอาทฤษฎีหรือแนวคิด สำคัญ ที่ แตกต่างกันทั้งหมด ของทุกๆ หัวข้อเอาไว้ ดังนั้น เราจะยึดเป้าหมายในการรวบรวมความรู้ ในลักษณะดังกล่าว ของมวลมนุษยชาติ แนวทางที่เราเลือกนี้เป็นนิยามที่ชัดเจนอย่างหนึ่งของ "ความรู้" ซึ่งสิ่งที่เรา "รู้" นั้นจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามกาลเวลา

เราสามารถรวบรวมความรู้ของมนุษย์ในรูปแบบที่ไม่เป็นกลางได้: เราอธิบายทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับเรื่อง ก จากนั้นอ้างว่าความจริงเกี่ยวกับ ก เป็นเช่นนี้เช่นนั้น แต่อย่างไรก็ตาม วิกิพีเดียเป็นโครงการที่มีการรวมมือกันในระดับนานาชาติ ดังนั้นเราจะพบทุกๆ มุมมองของแทบทุกๆ หัวเรื่องในบรรดาผู้เขียนและผู้อ่านในวิกิพีเดีย เพื่อป้องกันสงครามการแก้ไข เราสามารถที่จะตกลงกันว่าจะนำเสนอมุมมองที่สำคัญทุกๆ มุมมองอย่างเป็นธรรม และไม่ยืนยันว่ามุมมองใดมุมมองหนึ่งนั้นถูกต้อง นี่คือวิธีการที่จะทำให้บทความนั้น "ปราศจากอคติ" หรือ "เป็นกลาง" ในความหมายที่เราพยายามจะกล่าวถึงนี้ การเขียนจากมุมมองที่เป็นกลางนั้น เราจะนำเสนอมุมมองที่อาจเป็นที่โต้แย้งโดยไม่ยืนยันมุมมองดังกล่าว ซึ่งทำได้เพียงแค่นำเสนอมุมมองอื่นๆ ที่ขัดแย้งในรูปแบบที่ผู้สนับสนุนมุมมองเหล่านั้นยอมรับ และระบุว่ามุมมองเหล่านี้เป็นของผู้สนับสนุนเหล่านั้น    ในวิกิพีเดีย ความขัดแย้งทางความคิดและความเชื่อต่างๆ จะถูกนำมาจัดประเภทและอธิบาย ไม่ใช่ถูกนำมาป่าวประกาศใหม่

โดยสรุป เหตุผลหลักของนโยบายนี้ก็คือ: วิกิข่าวเป็นแหล่งรวบรวมข่าวสารของมนุษย์ แต่เนื่องจากวิกิข่าวเป็นแหล่งข้อมูลนานาชาติที่สร้างขึ้นโดยผู้ใช้ เราจึงไม่คาดว่าผู้เขียนทุกท่านจะมีความเห็นตรงกันในทุกๆ กรณี หรือกระทั่งในหลายๆ กรณี ว่าอะไรคือสิ่งที่สมควรเรียกว่าข่าว    เราจึงได้เลือกที่จะรวบรวม "ข่าวสารของมนุษย์" ในลักษณะที่กว้างขึ้น กล่าวคือ "ข่าว" นั้น รวมเอาทฤษฎีที่แตกต่างและอาจจะขัดแย้งกันทั้งหมดเอาไว้ เราแต่ละคนหรือทั้งกลุ่มควรที่จะพยายามที่จะนำเสนอมุมมองที่ขัดแย้งกันนี้อย่างเป็นธรรม โดยไม่ยืนยันและโฆษณามุมมองใดมุมมองหนึ่ง แต่มีข้อยกเว้นที่ว่า มุมมองที่เป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มคนกลุ่มที่เล็กมากๆ จะต้องไม่ถูกนำเสนอเหมือนกับว่าเป็นมุมมองที่ยอมรับในกลุ่มคนกลุ่มเล็กแต่สำคัญ และบางครั้งจึงไม่ควรถูกนำเสนอเลย

ยังมีอีกสาเหตุหนึ่งที่เราควรจะยึดถึงนโยบายนี้ กล่าวคือ การที่บทความประกาศอย่างชัดแจ้งว่าไม่คาดหวังว่าผู้อ่านจะเชื่อมุมมองใดมุมมองหนึ่ง จะทำให้ผู้อ่านเป็นอิสระในการตัดสินใจด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นการสนับสนุน การเป็นอิสระทางปัญญา รัฐบาลควบคุมอำนาจเบ็ดเสร็จ และสถาบันแห่งความเชื่อทุกๆ ที่ อาจมีเหตุผลที่ต้องต่อต้านวิกิพีเดีย ถ้านโยบายมุมมองที่เป็นกลางของเราสัมฤทธิ์ผล: การนำเสนอมุมมองหลายๆ ด้านที่ขัดแย้งกันในวิกิข่าว แสดงให้เห็นว่าเราผู้เขียนวิกิพีข่าวนั้น เชื่อมั่นในความสามารถของผู้อ่านที่จะตัดสินใจ และมีความเห็นเป็นของตนเอง เนื้อหาที่นำเสนอมุมมองหลายๆ มุมมองอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่สั่งผู้อ่านให้เลือกมุมมองใดมุมมองหนึ่ง ช่วยปลดปล่อยผู้อ่านได้ การเป็นกลางนั้นย่อมดีกว่าการยึดติดกับความเชื่อหนึ่งๆ และแทบจะทุกคนในวิกิข่าวน่าจะเห็นพ้องต้องกันว่านี่เป็นสิ่งที่ดี

อะไรคือมุมมองที่เป็นกลาง?

ความหมายของมุมมองที่เป็นกลางที่เราใช้นั้น อาจไม่ใช่ความหมายแรกที่คนจะนึกถึงเมื่อได้ยิน และมักถูกเข้าใจผิดได้โดยง่าย   นอกจากนี้ ยังมีการตีความหมายของคำว่า "ปราศจากอคติ" และ "เป็นกลาง" ได้อีกหลายแบบ   ความหมายของ "การเขียนที่ปราศจากอคติ" ในนโยบายของวิกิข่าวนั้น หมายถึง "การนำเสนอมุมมองที่ขัดแย้งกันโดยไม่ยืนยันมุมมองใดๆ" ประโยคนี้ต้องการอรรถาธิบายดังที่จะกล่าวต่อไป

ขั้นแรก และเป็นขั้นที่สำคัญที่สุด, พิจารณาความหมายของคำกล่าวที่ว่า การเขียนที่ปราศจากอคตินั้นนำเสนอมุมมองที่ขัดแย้งกันโดยไม่ยืนยันมุมมองใดๆ    การเขียนโดยปราศจากอคตินั้นไม่นำเสนอเฉพาะมุมมองที่ได้รับความนิยมมากที่สุด, ไม่ ยืนยัน ว่ามุมมองที่ได้รับความนิยมมากที่สุดนั้นถูกต้อง หลังจากที่ได้นำเสนอทุกมุมมองแล้ว, และไม่ยืนยันว่ามุมมองที่อยู่ระหว่างกลางของมุมมองต่างๆ เป็นมุมมองที่ถูกต้อง    การนำเสนอทุกมุมมองกระทำโดยอธิบายในลักษณะว่า นัก p-นิยมเชื่อว่า p ในขณะที่นัก q-นิยม เชื่อว่า q และนี่คือจุดที่มีการโต้เถียงกันอยู่ในปัจจุบัน   จะดีที่สุดถ้าในการนำเสนอทุกมุมมองนั้นให้รายละเอียดเกี่ยวกับพื้นหลังของกลุ่มคนที่เชื่อ p และ q พร้อมด้วยเหตุผล และมุมมองใดเป็นมุมมองที่ได้รับความเชื่อถือมากกว่า (แต่ต้องระวังที่จะไม่นำเอา ความนิยม ไปสัมพันธ์กับ ความถูกต้อง) บทความที่ละเอียดอาจมีการประเมินระหว่างกันของมุมมองต่างๆ โดยให้แต่ละฝ่ายได้ "ปล่อยหมัดเด็ด" ใส่กัน แต่ต้องระมัดระวังที่จะไม่กล่าวว่าฝ่ายใดเป็นผู้ชนะในการวิจารณ์

ประเด็นหนึ่งที่จำต้องอธิบายไว้ในที่นี้ ก็คือ, เราได้กล่าวว่า "มุมมองที่เป็นกลาง" นั้นไม่ใช่มุมมองจริง ๆ ที่ "อยู่ระหว่างกลาง" หรือ "เป็นกลาง" ของมุมมองอื่นๆ แม้ว่ามันอาจเป็นความหมายหนึ่งของวลีดังกล่าวก็ตาม    ความเข้าใจที่ต้องมีร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ "มุมมองที่เป็นกลาง" ในความหมายของวิกิข่าวนั้นจะไม่เป็นมุมมองใด ๆ เลย นั่นคือ เมื่อเราเขียนอย่างเป็นกลาง เราจะระมัดระวังที่จะไม่ยืนยัน (หรือทำให้ผู้อ่านคิดหรือสรุป หรือบอกใบ้) ว่ามุมมองใด ๆ เป็นมุมมองที่ถูกต้อง

ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมเช่นเดียวกัน    การเขียนโดยปราศจากอคตินั้น สามารถมองได้ว่าเป็นการเขียนที่อธิบายการโต้เถียงที่มีในประเด็นหนึ่งๆ หรืออาจเป็นการจำแนกแจกแจงประเด็นของการโต้เถียงที่มีก็ได้ แต่ไม่ใช้การเข้าไปมีส่วนร่วมในการโต้เถียงนั้นด้วย    เราสามารถคิดว่าการเขียนที่ปราศจากอคตินั้น คือการเขียนบทวิเคราะห์การโต้เถียง ที่ไม่ใช้อารมณ์และให้ความเสมอภาคกับทุกฝ่าย    แน่นอน เราอาจสงสัยว่าเป้าหมายนี้จะกระทำได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม นักวิชาการที่มีประสบการณ์ นักเขียนแนวโต้แย้ง และผู้เชี่ยวชาญด้านโวหาร นั้นถูกฝึกฝนให้สนใจอคติหรือความไม่เป็นกลางเป็นพิเศษ ทั้งในงานของตนเองและของผู้อื่น ทำให้สามารถสังเกตเห็นคำบรรยายของการโต้เถียงที่มีลักษณะเข้าข้างไปทางใดทางหนึ่งได้ และถ้าเลือกที่จะทำ ผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นจะสามารถลบหรือแก้ไขส่วนที่ไม่เป็นกลางนั้นออกจากบทความได้

คุณสมบัติที่สำคัญ บทความที่เปรียบเทียบมุมมองหลาย ๆ มุม ไม่จำเป็นจะต้องอธิบายหรือให้รายละเอียดกับกลุ่มของมุมมองส่วนน้อยเท่ากับมุมมองอื่น ๆ ที่มีผู้เชื่อถือมากกว่า    เราไม่จำเป็นต้องพยายามนำเสนอการโต้แย้งราวกับว่ามุมมองที่มีผู้เชื่อถือน้อยนั้น ควรได้รับความสนใจเท่า ๆ กับมุมมองอื่น ๆ ที่มีผู้เชื่อถือมากกว่า    ถ้าเราจะนำเสนอข้อโต้เถียงอย่างเป็นธรรม เราควรจะเสนอมุมมองที่ขัดแย้งกันในสัดส่วนตามจำนวนตัวแทนของผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ หรือสัดส่วนของกลุ่มที่สนใจ    อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่การกล่าวว่ามุมมองข้างน้อยจะไม่ควรได้รับความสนใจมากเท่าที่เราจะทำได้ ในบทความที่กล่าวถึงมุมมองนั้น ๆ โดยเฉพาะ เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดด้านขนาดในวิกิข่าว แต่กระทั่งในบทความนั้น แม้ว่ามุมมองดังกล่าวจะถูกเขียนออกมาอย่างละเอียด เราจะต้องระวังไม่ให้เกิดการนำเสนอว่ามุมมองดังกล่าวเป็น ความจริงแท้ ด้วยเช่นกัน

จาก จิมโบ เวลส์, กรกฎาคม 2003 ในกลุ่มจดหมาย
  • ถ้ามุมมองเป็นมุมมองหลัก น่าจะเป็นการง่ายที่จะเขียนอ้างอิงไปถึงหนังสือที่เป็นที่ยอมรับกัน
  • ถ้ามุมมองเป็นมุมมองข้างน้อย แต่มีจำนวนผู้เชื่อถือมากระดับหนึ่ง น่าจะเป็นการง่ายที่เราจะอ้างถึงผู้สนับสนุนหลัก
  • ถ้ามุมมองเป็นมุมมองข้างน้อย ที่มีผู้เชื่อถือจำนวนน้อยมาก (หรือมีจำนวนจำกัดอย่างยิ่ง) มุมมองนั้นไม่สมควรจะมีอยู่ในวิข่าว (นอกเสียจากในบางบทความสนับสนุน) ไม่ว่ามุมมองนั้นจะจริงหรือไม่ หรือว่าคุณจะสามารถพิสูจน์มันได้หรือไม่

การลำเอียงนั้นไม่จำเป็นต้องเกิดอย่างตั้งใจ ตัวอย่างเช่น ผู้เริ่มต้นในบางสาขาอาจพลาดที่จะตระหนักว่าความเชื่อที่ดูเหมือนสามัญทั่วไปนั้น ได้มีอคติแฝงอยู่ หรือมีการลำเอียงไปยังมุมมองบางมุม (ดังนั้นบ่อยครั้งเราจึงต้องการผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่จะปรับแต่งให้บทความนั้นปราศจากอคติ) อีกตัวอย่างเช่น นักเขียนอาจ (โดยไม่ได้ตั้งใจ) สร้างอคติที่ขึ้นกับภูมิศาสตร์ เช่น อาจเขียนถึงการโต้แย้งในรูปแบบ ที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นในประเทศหนึ่ง โดยไม่ทราบว่า การโต้แย้งดังกล่าวอาจมีรูปแบบที่แตกต่างไปในที่อื่น ๆ

นโยบายที่ให้บทความนั้นมีมุมมองที่เป็นกลางนั้น ไม่ได้มีเป้าหมายที่จะ ซ่อน มุมมองที่แตกต่างกัน แต่เพื่อจะแสดงความหลากหลายของมุมมอง   ในกรณีบทความที่มีการโต้เถียงอย่างรุนแรง ประเด็นที่แข็งและประเด็นที่อ่อนจะถูกอธิบายถึงไปตามแต่ละมุมมอง โดยไม่มีการเข้าข้างมุมมองใด มุมมองหนึ่ง   มุมมองที่เป็นกลางไม่ใช่นโยบายแบบแยกแยะแต่เท่าเทียม ข้อเท็จจริงนั้น โดยตัวมันเองแล้ว เป็นกลาง แต่แค่การนำเอาข้อเท็จจริงมารวมกันนั้น ไม่สามารถเป็นมุมมองที่เป็นกลางได้   แม้ว่าบทความจะประกอบด้วยข้อเท็จจริง แต่ถ้ามีแต่ข้อเท็จจริงที่เอื้อประโยชน์ให้กับมุมมองใดมุมมองหนึ่ง บทความนั้นก็ไม่จัดว่าเป็นกลางเช่นกัน


วิกิข่าวนั้นมีเป้าหมายที่จะระบุข้อเท็จจริงและเฉพาะข้อเท็จจริงเท่านั้น   ในส่วนที่เราต้องการระบุความคิดเห็น เราจะเปลี่ยนความคิดเห็นนั้นให้เป็นข้อเท็จจริง โดยการให้ที่มาของความคิดเห็นนั้น ดังนั้น แทนที่จะกล่าวว่า "เดอะ บีเทิลส์เป็นวงดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด" เราจะกล่าวว่า "ชาวอเมริกันส่วนใหญ่เชื่อว่าเดอะ บีเทิลส์เป็นวงดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด" ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบด้วยผลการสำรวจ หรืออาจกล่าวว่า "เดอะ บีเทิลส์มีเพลงติดชาร์ตเพลงยอดนิยมมากมาย" ซึ่งก็เป็นข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน   ในตัวอย่างแรก เรากล่าวถึงความคิดเห็น ตัวอย่างที่สองและสามเปลี่ยนความคิดเห็นนั้นให้เป็นข้อเท็จจริง โดยการระบุที่มาของข้อคิดเห็นนั้น   อย่างไรก็ตาม รูปแบบที่เราใช้นี้แตกต่างกับรูปแบบ "มีคนเชื่อว่า..." ที่พบบ่อยในข้อโต้เถียงทางการเมือง การอ้างอิงบุคคลของเรานั้นจะต้องเป็น กลุ่มประชากรที่ระบุได้อย่างชัดเจน หรือไม่ก็ต้องเป็น การระบุชื่อ

ในการนำเสนอความคิดเห็นนั้น บางครั้งเราจะต้องตระหนักด้วยว่ายังมีความเห็นที่ไม่ตรงกันอยู่ เกี่ยวกับการวิธีการระบุความคิดเห็น   บางครั้งเราอาจจำเป็นต้องระบุรายละเอียดของความคิดเห็นนั้นให้ชัดเจน หรือไม่ก็ต้องนำเสนอความคิดเห็นนั้นในหลาย ๆ รูปแบบ เพื่อที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่นำเสนอมุมมองสำคัญอย่างเป็นธรรมของสถานการณ์ (ข้อโต้เถียงทางปรัชญาและทางเทววิทยานั้น ยากเป็นพิเศษในการที่จะอธิบายในรูปแบบที่ปราศจากความลำเอียง หน้าเหล่านั้นจะต้องระวัง ดังเช่นในตัวอย่างข้างต้นที่เกี่ยวกับปัญหาการมีอยู่ของพระเจ้า)

อย่างไรก็ตาม มันไม่เพียงพอที่จะบอกว่านโยบายการไม่มีอคติของวิกิพีเดีย คือการระบุข้อเท็จจริงและงดเว้นความคิดเห็น   เมื่อยืนยันข้อเท็จจริง เกี่ยวกับความคิดเห็น แล้ว เป็นสิ่งที่สำคัญที่เราต้องยืนยันข้อเท็จจริง เกี่ยวกับความคิดเห็นตรงข้าม ด้วยเช่นกัน ซึ่งต้องกระทำโดยไม่ทำให้มีการสื่อความหมายว่ามุมมองใดเหล่านี้เป็นมุมมองที่ถูกต้อง   เป็นสิ่งที่ค่อนข้างสำคัญที่จะต้องระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุผลเบื้องหลังในคิดต่างๆ เหล่านั้น และชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามุมมองนี้เป็นของใคร (ส่วนใหญ่แล้ว วิธีที่ดีที่สุดก็คือการอ้างถึงตัวแทน ที่โดดเด่นของมุมมองเหล่านั้น)